ข่าวสภาองค์กรของผู้บริโภค

รู้จัก ‘สภาองค์กรของผู้บริโภค’

ประเทศไทยถือว่ามีความก้าวหน้ามากในภูมิภาคอาเซียน ที่กำหนดเรื่องการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 และมีแนวคิดเรื่อง “องค์กรอิสระ” ที่จะเป็นตัวแทนของผู้บริโภค ทำหน้าที่เสนอความคิดเห็นจัดทำนโยบาย มาตรการเพื่อการคุ้มครอง สะท้อนหลักการสำคัญว่า ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการจัดทำนโยบายและมาตรการเพื่อคุ้มครองตนเอง รวมทั้งเป็นตัวแทนในการให้ความคิดเห็นที่เป็นอิสระ รักษาผลประโยชน์ของทุกคน “เพราะทุกคนคือผู้บริโภค”

องค์กรผู้บริโภค มีบทบาทในการสนับสนุนการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคของหน่วยงานรัฐมาเป็นเวลานาน มากกว่า 30 ปี ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ มีบทบาทสนับสนุนให้ผู้บริโภคตื่นตัวและให้คำปรึกษา คำแนะนำการช่วยเหลือผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิ เป็นปากเป็นเสียงฟ้องคดีแทนผู้บริโภค พลังของผู้บริโภคในใช้ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า และสนับสนุนผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าที่ดี มีความรับผิดชอบต่อสังคม ยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการให้มีคุณภาพมากขึ้น เกิดวัฒนธรรมการเปิดเผยชื่อยี่ห้อสินค้าเปรียบเทียบกัน อย่างไรก็ตาม องค์กรผู้บริโภคก็ยังทำงานได้อย่างจำกัด เนื่องจากงบประมาณที่ไม่เพียงพอ ประกอบกับจำนวนองค์กรผู้บริโภคที่ยังมีไม่เพียงพอ ขาดการรวมตัวกัน ทำให้ขาดพลังในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค

หลังจากแนวคิดเรื่อง “องค์กรอิสระ” ถูกบัญญัติลงในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 องค์กรผู้บริโภคต่างๆ ได้รวมตัวกันรณรงค์และผลักดันอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดเป็นกฎหมายที่ชัดเจนมากขึ้นใน รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 จนกระทั่งถูกพัฒนาเป็น “สภาองค์กรของผู้บริโภค” ในรัฐธรรมฉบับปัจจุบัน โดยกำหนดให้องค์กรผู้บริโภค รวมตัวกันไม่น้อยกว่า 150 องค์กร เพื่อจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค และให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ เพื่อเป็นตัวแทนผู้บริโภคและทำงานคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค เพื่อเป็น หู ตา ปาก เสียง ให้ผู้บริโภคก่อนถูกเอารัดเอาเปรียบ ให้ข้อมูล เตือนภัย ร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ ให้ผู้บริโภคใช้ชีวิตอย่างเท่าทัน โดยเฉพาะรูปแบบการซื้อขายที่เปลี่ยนแปลง ความเสียหายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง และสนับสนุนให้เกิดพลังผู้บริโภคในการสร้างพลังทางสังคม การพัฒนาคุณภาพชีวิต และรวมถึงการเพิ่มอำนาจต่อรองให้ผู้บริโภค เพื่อลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรมในสังคมให้มากขึ้น ตามยุทธศาสตร์ของประเทศ

ทั้งนี้ “พระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562” ได้ถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2562 ซึ่งหลังจากกฎหมายมีผลบังคับใช้ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศได้ทยอยกันไปยื่นจดแจ้งสถานะความเป็นองค์กรผู้บริโภคต่อนายทะเบียนกลางและนายทะเบียนจังหวัด ตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ตาม กระบวนการจดแจ้งสถานะฯ กินระยะเวลากว่า 1 ปี เนื่องจากความยุ่งยากของเอกสาร การจัดการ การตรวจสอบ และความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนระหว่างหน่วยงาน จนในที่สุดวันที่ 8 ตุลาคม 2563 ก็มีองค์กรผู้บริโภคที่ผ่านการจดแจ้งครบ องค์กรผู้บริโภคจำนวน 152 องค์กรจึงรวมตัวกันยื่นหนังสือต่อ สปน. เพื่อจัดตั้ง “สภาองค์กรของผู้บริโภค” ขึ้น ถือเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งหลังจากผลักดันเรื่องนี้มากว่า 20 ปี

สัญลักษณ์และความหมาย

สัญลักษณ์คนกอดคอกันชายหญิง แสดงถึงความเท่าเทียมเสมอภาค ร่วมมือรวมพลังเป็นหนึ่งเดียวเพื่อปกป้องพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค พร้อมทั้งเสนอแนะการคุ้มครองสิทธิ และมีตัวอักษร TCC ย่อมาจาก Thailand Consumer Council ของสภาองค์กรของผู้บริโภค
สีเทอร์คอยซ์ เป็นมิตรและให้ความสมดุล สบายตา ดูสง่า ผสมกับวงกลมสีส้ม หมายถึง ความถูกต้อง ความรู้ ความกระตือรือร้นและความยุติธรรม ตัวอักษรสีเทา หมายถึงความเสถียร ความมั่นคง ความเป็นทางการ และความเชื่อถือ

ที่มาของเงินทุน

สภาองค์กรของผู้บริโภค ไม่รับการสนับสนุนด้านการเงินหรือทรัพย์สินจากบริษัทเอกชน และพรรคการเมืองใด โดยที่มาของเงินทุนตั้งต้นของสภาฯ มาจากทุนประเดิมที่รัฐบาลจ่ายให้เป็นการอุดหนุนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสามร้อยห้าสิบล้านบาทสำหรับการดำเนินการให้เกิดการรวมตัวกันขององค์กรของผู้บริโภคอย่างทั่วถึงและเกิดพลังอย่างแท้จริง ส่วนในปีถัดๆ ไปจะมาจากเงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้โดยตรงเป็นรายปีเป็นการจ่ายขาดให้แก่สภา อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะสภาฯ จะได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ แต่ก็สามารถทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐได้อย่างเป็นอิสระด้วยเช่นเดียวกัน

นอกจากเงินทุนจากรัฐบาลแล้ว สภาฯ สามารถได้เงินทุนค่าใช้จ่ายและค่าป่วยการที่ศาลสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจชำระแก่สภา เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ ดอกผลของเงินหรือรายได้จากทรัพย์สินของสภา และรายได้อื่น โดยต้องไม่เป็นการกระทำที่อาจทำให้สภาขาดความเป็นอิสระในการดำเนินงาน หรืออาจก่อให้เกิดการขัดหรือแย้งต่อวัตถุประสงค์ของสภา

เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค

ภาคีเครือข่าย
(กพย., คคส., และอื่นๆ)

นักวิชาการ และ ผู้เชี่ยวชาญ
ด้านต่างๆ

องค์กรที่ลงทะเบียนล่าสุด

{{orz_last_info.title}}

เพิ่มเติม

ลงทะเบียนสมาชิกองค์กรผู้บริโภค

ร่วมสานพลัง เพื่อพิทักษ์สิทธผู้บริโภค

ลงทะเบียนสมาชิกองค์กรผู้บริโภค

ร่วมสานพลัง เพื่อพิทักษ์สิธิผู้บริโภค

เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
{{msgLoginStatus}}
** {{msgSuccess}}

ข้อตกลงและเงื่อนไข

ข้อตกลงและเงื่อนไขการลงทะเบียนขอรับชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน (Username & Password)
ข้อตกลงและเงื่อนไขนี้ใช้บังคับระหว่าง คณะกรรมการองค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “ผู้ให้บริการ” กับผู้สมัครขอลงทะเบียนรับชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน (Username & Password) เพื่อใช้บริการระบบลงทะเบียนองค์กรผู้บริโภคหรืออาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคทางอิเล็กทรอนิกส์ (e‐Registration) ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “ผู้ใช้บริการ” โดยผู้ใช้บริการตกลงยินยอมผูกพันยินยอมผูกพันและปฏิบัติตาม ข้อตกลงและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
1. ข้อตกลงและเงื่อนไขนี้ใช้บังคับระหว่าง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “ผู้ให้บริการ” กับผู้สมัครขอรับชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน (Username & Password) เพื่อใช้บริการระบบ) เพื่อใช้บริการระบบลงทะเบียนองค์กรผู้บริโภคหรืออาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “ผู้ใช้บริการ”
2. การสมัครขอรับชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน (Username & Password) เพื่อใช้บริการระบบลงทะเบียนองค์กรผู้บริโภคหรืออาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคทางอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
3. ผู้ใช้บริการ จะต้องกรอกหรือระบุข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ตามความเป็นจริงให้ครบถ้วน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่ตัวผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการ หากตรวจพบว่าข้อมูลของผู้ใช้บริการไม่เป็นความจริง ผู้ให้บริการอาจระงับหรือยกเลิกสิทธิ์การใช้งานของผู้ใช้บริการได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และผู้ใช้บริการจะต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกรอกข้อมูลอันเป็นเท็จดังกล่าว
4. ผู้ใช้บริการ ตกลงยินยอมให้ ผู้ให้บริการ ตรวจสอบความถูกต้องและเปิดเผยข้อมูลตามที่ได้ระบุไว้ในการสมัครขอรับ ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน (Username & Password) นี้ เพื่อใช้ประโยชน์ของผู้ให้บริการ และในกรณีที่ผู้ให้บริการตรวจสอบพบว่าข้อมูลที่ผู้ใช้บริการระบุไว้ไม่ชัดเจนหรือเป็นเท็จ ผู้ให้บริการมีสิทธิที่จะปฏิเสธการรับลงทะเบียนหรือยกเลิกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของผู้ใช้บริการได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบ
5. ผู้ใช้บริการต้องไม่นำชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน (Username & Password) ไปใช้ในทางที่ขัดต่อกฎหมาย และความสงบ เรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
7. ผู้ใช้บริการตกลงและเข้าใจดีว่า การใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) เพื่อสร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ จะต้องใช้คู่กับรหัสผ่าน (Password) ซึ่งผู้ใช้บริการเป็นผู้กำหนดขึ้นด้วยตนเอง และใช้ร่วมกับรหัสลับแบบใช้ครั้งเดียว (One Time Password : OTP) ในกรณีที่ผู้ใช้บริการไม่สามารถจำรหัสผ่านที่ตนกำหนดได้
ผู้ใช้บริการจะต้องทำการตั้งรหัสผ่านใหม่ผ่านทางหน้าจอระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) โดยคลิกปุ่ม “เข้าสู่ระบบ” และคลิกเลือก “ลืมรหัสผ่าน” 8. ในกรณีที่เหตุอันควรสงสัยว่ารหัสผ่าน (Password) ของผู้ใช้บริการ ล่วงรู้ไปถึงบุคคลอื่นซึ่งไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ผู้ใช้บริการมีหน้าที่ต้องทำการตั้งรหัสผ่านใหม่ โดยทันทีผ่านทางหน้าจอระบบลงทะเบียน (e-Registration) ทั้งนี้ หากมีผู้อื่นนำรหัสผ่าน (Password) ไปใช้และก่อให้เกิดผลเสียหายหรือค่าใช้จ่าย ผู้ใช้บริการต้องรับผิดชอบการกระทำดังกล่าวด้วย
9. ผู้ใช้บริการตกลงและยอมรับว่าผู้ให้บริการมีสิทธิที่จะแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อตกลงและเงื่อนไขการสมัครขอรับชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน (Username & Password) นี้ได้ ตามที่ผู้ให้บริการได้พิจารณาแล้วเห็นสมควร เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาหรือปรับปรุงการให้บริการ หรือเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งที่ใช้บังคับอยู่ และที่จะออกมาใช้บังคับในอนาคต หรือในกรณีที่ผู้ให้บริการเห็นสมควรที่จะแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อตกลงและเงื่อนไข ในข้อตกลงฉบับนี้ ทั้งนี้ผู้ให้บริการจะแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้าทาง e-mail, SMS หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นใด ที่ผู้ให้บริการกำหนด ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันที่การแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อตกลงและเงื่อนไขจะมีผลบังคับใช้
10. ผู้ใช้บริการต้องเก็บรักษาชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน (Username & Password) ที่ได้รับไว้เป็นความลับ และผู้ใช้บริการตกลงและยอมรับว่าในกรณีที่มีการใช้ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน (Username & Password) เพื่อสร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และบันทึกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ผู้ใช้บริการตกลงและยินยอมให้ถือเสมือนว่าลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่บันทึกลงบนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีความผูกพันตามกฎหมายเสมือนเป็นการลงลายมือชื่อของผู้ใช้บริการในเอกสารการจดทะเบียนและยินยอมผูกพันตามเนื้อหาหรือข้อมูลนั้นทุกประการ ทั้งนี้ โดยรวมถึงกรณีที่มีการสร้างหรือนำลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ของผู้ใช้บริการ หรือใช้โดยผิดข้อตกลง หรือเงื่อนไขการใช้ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน (Username & Password) และการใช้นั้นได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด ผู้ใช้บริการจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นทุกประการด้วยตนเอง
11. ผู้ใช้บริการต้องปฏิบัติตามข้อตกลงและเงื่อนไขการสมัครและการใช้บริการของผู้ให้บริการโดยเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัย ในข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ ในกรณีที่ข้อมูลดังกล่าวถูกโจรกรรม สูญหาย หรือเสียหายอันเนื่องจากเหตุสุดวิสัยหรือไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม ผู้ให้บริการมีสิทธิปฏิเสธและไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหตุต่าง ๆ ดังกล่าวได้
12. ผู้ใดแอบอ้างหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลโดยใช้ข้อมูลของผู้อื่นมาแอบอ้างในการสมัครขอรับชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน (Username & Password) ถือเป็นความผิดและต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้
13. ผู้ให้บริการอาจส่งข้อมูลหรือแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น e-mail, SMS หรือช่องทางอื่นใดที่จะ มีขึ้นในอนาคต ให้แก่ผู้ใช้บริการได้ตามที่ผู้ให้บริการเห็นสมควร ทั้งนี้ผู้ให้บริการมีระบบการตรวจจับ Virus ก่อนส่งข่าวสารใด ๆ ให้แก่ผู้ใช้บริการทุกครั้ง ดังนั้น หากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการเกิดความผิดปกติอันเนื่องมาจากการติด Virus หรือ Spam mail ผู้ใช้บริการไม่สามารถเรียกร้องให้ผู้ให้บริการรับผิดชอบใด ๆ ได้ทั้งสิ้น
14. ผู้ให้บริการมีสิทธิระงับหรือยกเลิกการให้บริการกับผู้ใช้บริการได้ทันที ถ้าปรากฏว่าผู้ใช้บริการปฏิบัติผิดข้อตกลง และเงื่อนไขนี้แม้เพียงข้อใดข้อหนึ่ง

เมื่อลงทะเบียนแล้วกรุณาเข้าระบบ เพื่อทำการเพิ่มข้อมูลเพื่อนุมัติต่อไป

ลงทะเบียนสมาชิกองค์กรผู้บริโภค

ร่วมสานพลัง เพื่อพิทักษ์สิธิผู้บริโภค

ลงทะเบียนสมาชิกองค์กรผู้บริโภค

ร่วมสานพลัง เพื่อพิทักษ์สิธิผู้บริโภค

{{orz_info.orz_total}}

ทั่วประเทศ

{{item.zone_title}}{{item.total}}

{{item.zone_title}}{{item.total}}

{{item.zone_title}}{{item.total}}

{{item.zone_title}}{{item.total}}

{{item.zone_title}}{{item.total}}

{{item.zone_title}}{{item.total}}

{{item.zone_title}}{{item.total}}

อาสาสมัครเพื่อผู้บริโภค

“หนึ่งพลังผู้บริโภครุ่นใหม่ สร้างแรงบันดาลใจ เปลี่ยนแปลงสังคม” ทุกคนเป็นผู้บริโภคตั้งแต่เกิดจนตาย ชีวิตของเราย่อมต้องซื้อ ใช้ เลือกสินค้าบริการต่างๆ และหากเกิดความเสียหายก็ต้องการสิ่งชดเชยที่เป็นธรรม ทุกวันนี้มีคนถูกหลอก ถูกโกงจากการซื้อขายสินค้าหรือบริการต่างๆ อยู่ตลอดเวลา งานอาสาสมัครผู้บริโภค นอกจากจะทำให้เรารู้จักสิทธิผู้บริโภค เพื่อปกป้องตนเอง ยังสามารถช่วยเหลือ คุ้มครองสิทธิคนอื่นได้ ปัจจุบัน องค์กรผู้บริโภคยังต้องการอาสาสมัครมาช่วยงานคุ้มครองสิทธิอยู่ไม่น้อย ทั้งการช่วยรับเรื่องร้องเรียน เผยแพร่ข้อมูล หรือทำสื่อประชาสัมพันธ์ความรู้ รวมทั้งกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค“เจอนมหมดอายุ ต้องทำยังไง” “ถูกเก็บค่าโทรศัพท์เกินจริง จะใช้สิทธิอย่างไร” “ซื้อไอโฟน ได้ก้อนหิน ใครต้องรับผิดชอบ” “เป็นหนี้บัตรเครดิต ต้องจัดการอย่างไร” “ค่ารักษาพยาบาลแพง ใครต้องดูแล”เรื่องเหล่านี้ ท่านสามารถเรียนรู้ได้ผ่านการทำงานอาสาสมัครเพื่อผู้บริโภค นอกจากใช้ปกป้องตนเองได้แล้ว ยังสามารถแนะนำช่วยเหลือผู้อื่นได้ด้วย มาร่วมกันคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ยิ่งผู้บริโภครู้สิทธิมาก การถูกเอาเปรียบจะยิ่งลดลง หนึ่งพลังของท่านช่วยให้สังคมเปลี่ยนแปลงได้

อาสาสมัครเพื่อผู้บริโภค

“หนึ่งพลังผู้บริโภครุ่นใหม่ สร้างแรงบันดาลใจ เปลี่ยนแปลงสังคม” ทุกคนเป็นผู้บริโภคตั้งแต่เกิดจนตาย ชีวิตของเราย่อมต้องซื้อ ใช้ เลือกสินค้าบริการต่างๆ และหากเกิดความเสียหายก็ต้องการสิ่งชดเชยที่เป็นธรรม ทุกวันนี้มีคนถูกหลอก ถูกโกงจากการซื้อขายสินค้าหรือบริการต่างๆ อยู่ตลอดเวลา งานอาสาสมัครผู้บริโภค นอกจากจะทำให้เรารู้จักสิทธิผู้บริโภค เพื่อปกป้องตนเอง ยังสามารถช่วยเหลือ คุ้มครองสิทธิคนอื่นได้ ปัจจุบัน องค์กรผู้บริโภคยังต้องการอาสาสมัครมาช่วยงานคุ้มครองสิทธิอยู่ไม่น้อย ทั้งการช่วยรับเรื่องร้องเรียน เผยแพร่ข้อมูล หรือทำสื่อประชาสัมพันธ์ความรู้ รวมทั้งกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค“เจอนมหมดอายุ ต้องทำยังไง” “ถูกเก็บค่าโทรศัพท์เกินจริง จะใช้สิทธิอย่างไร” “ซื้อไอโฟน ได้ก้อนหิน ใครต้องรับผิดชอบ” “เป็นหนี้บัตรเครดิต ต้องจัดการอย่างไร” “ค่ารักษาพยาบาลแพง ใครต้องดูแล”เรื่องเหล่านี้ ท่านสามารถเรียนรู้ได้ผ่านการทำงานอาสาสมัครเพื่อผู้บริโภค นอกจากใช้ปกป้องตนเองได้แล้ว ยังสามารถแนะนำช่วยเหลือผู้อื่นได้ด้วย มาร่วมกันคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ยิ่งผู้บริโภครู้สิทธิมาก การถูกเอาเปรียบจะยิ่งลดลง หนึ่งพลังของท่านช่วยให้สังคมเปลี่ยนแปลงได้

โครงสร้างสภาองค์กรของผู้บริโภค

โดยคณะกรรมการสภาต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบเอ็ดคน ประกอบด้วย

หน้าที่ ความรับผิดชอบ ของคณะกรรมการสภาฯ

คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่กำกับติดตามการดำเนินงานของเลขาธิการและสำนักงาน ให้สอดคล้องกับนโยบาย วัตถุประสงค์ และอำนาจของสภา รวมทั้งให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

หน้าที่ ความรับผิดชอบ ของสำนักงานสภา

เลขาธิการเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารกิจการของสำนักงานให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ข้อกำหนด นโยบาย ระเบียบ และมติของคณะกรรมการ และเป็นผู้แทนของสภาในการดำเนินการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก โดยเลขาธิการอาจมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่คนหนึ่งคนใดปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนได้ ตลอดจนเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสำนักงานทุกตำแหน่ง
และสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภคมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้

องค์กรสมาชิก

องค์กรของผู้บริโภค หมายความว่า องค์กรที่ผู้บริโภคซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป รวมตัวกันจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองผู้บริโภคและไม่แสวงหาผลกำไร ไม่ว่าการรวมตัวจัดตั้งนั้นจะจัดตั้งในรูปแบบใด และจะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ตาม และให้หมายรวมถึงนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ดังกล่าวด้วย
โดยองค์กรของผู้บริโภคที่จะเป็นสมาชิกของสภาองค์กรอขงผู้บริโภคต้องผ่านการรับรองตามที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562

กลไกเขตพื้นที่ แบ่งออกเป็น 7 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร โดยกลไกเขตพื้นที่มีหน้าที่ดังต่อไปนี้

หน่วยงานประจำจังหวัด มีหน้าที่ดังต่อไปนี้